องค์ประกอบงาน


3. การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน help with coursework จะมีการเรียนรู้ตามองค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้
3.1 องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ ( รู้ชื่อ, รู้ลักษณ์, รู้จัก)
เป็นการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา สำรวจพรรณไม้ ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น บันทึกภาพพรรณไม้ หรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ ตั้งชื่อหรือสอบถามข้อมูลพรรณไม้ ทำป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ทำตัวอย่างพรรณไม้ เปรียบเทียบข้อมูลกับเอกสาร เรียนรู้ชื่อที่เป็นสากล จัดทำระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ การตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนพรรณไม้ และจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ เพื่อให้รู้จัก
รู้ประโยชน์ของพรรณไม้
3.2 องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน (คลุกคลี, เห็นคุณ, สุนทรีย์) assignment help websites เป็นการเรียนรู้พืชพรรณ และสภาพพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่ พิจารณาคุณ และสุนทรียภาพพรรณไม้ ทำผังภูมิทัศน์ จัดหาพรรณไม้ ปลูก ดูแลรักษา และออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นคุณ รู้ค่า ของพืชพรรณ
3.3 องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ (รู้การวิเคราะห์ ,เห็นความต่าง, รู้ความหลายหลาก) เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นปัจจัยในการเรียนรู้ โดยการใช้ปัจจัยหลายปัจจัยในชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เพื่อให้เห็นความต่าง เมื่อเห็นความต่าง ก็จะเกิดจินตนาการอันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในงานแต่ละด้าน
3.4 องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ (รู้สาระ, รู้สรุป, รู้สื่อสาร)
เป็นรวบรวมผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ เรียบเรียงสาระ จัดระเบียบข้อมูลสาระแต่ละด้าน และจัดลำดับ
3.5 องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา (นำองค์ความรู้, ที่เป็นวิทยาการ, เผยแพร่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่) เป็นการบูรณาการสู่การเรียนการสอนในกลุ่มสาระ และสาขาวิชาต่างๆ การเผยแพร่องค์ความรู้ การสร้าง การใช้ การดูแลรักษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อการใช้ประโยชน์องค์ความรู้ในวงกว้าง สาระหรือกลุ่มสาระ เรียนรู้รูปแบบการเขียนรายงาน วิธีการรายงานผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

สรุป สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อในการที่จะให้นักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ ของพืชพรรณ และรู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ ทุกสาขาวิชา ในลักษณะบูรณาการวิทยาการ ทำให้โรงเรียน สถาบันการศึกษา เป็นแบบอย่างของ การมี การใช้ ศักยภาพ ของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างเหมาะสม

ที่มา: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2551). คู่มือการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, กรุงเทพฯ.

Does the author need to be well-qualified and professional writers that can bring ideas to life through their written words,

While writing an article is not going to be easy, it may also be an excellent way to obtain more https://www.affordable-papers.net/ understanding about the subject.

but they have to also be achieved researchers who know where to obtain the very best sources of reliable info.

Comments are closed.